- หน้าแรก
- ข้อมูล อบต.
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- ผลงานเด่น
- รายงาน
- ข่าว อบต.
- ภาพกิจกรรม
- วิดีโอกิจกรรม
- ปฏิทินกิจกรรม
- แหล่งท่องเที่ยว
- ผลิตภัณฑ์ในตำบล
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เรื่องราวร้องทุกข์
- ช่องทางการร้องเรียนทุจริต
- กระดานสนทนา
- ข้อมูลสถิติการให้บริการ
- รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจ
- การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
- คู่มือประชาชน/คู่มือปฏิบัติงาน
- ระเบียบกฏหมาย
- แผนผังเว็บไซต์
องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขวาง จังหวัดพิจิตร
ตำบลวัดขวาง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอโพทะเล ซึ่งเรียกชื่อตามชื่อวัด ซึ่งตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำพิจิตรเก่า(แม่น้ำน่านเดิม) มีเรื่องเล่ากันมาว่าบริเวณนี้เป็นโค้งคุ้งแม่น้ำน่าน (ซึ่งจะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำยม ที่บริเวณวัดหิรัญญาราม ตำบลบางคลาน เดิมเป็นที่ตั้งของตำบลบางคลาน) ราษฎรที่ใช้เรือนแพเดินทางสัญจรไปมา เมื่อเดินทางใกล้ถึงบริเวณโค้งคุ้งน้ำแห่งนี้ เมื่อมองไปข้างแม่น้ำจะเห็นเป็นวัดสร้างขวางแม่น้ำอยู่ จึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดขวางน้ำ แต่ต่อมาเรียกกันติดปากสั้น ๆ ว่า วัดขวาง และเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า บ้านวัดขวาง เดิม ขึ้นการปกครองกับ ตำบลทุ่งน้อย และในปี พ.ศ. 2481 ได้แบ่งการปกครองออกมาเป็น ตำบลวัดขวาง จนถึงปัจจุบัน
“ท้องถิ่นน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรคุณภาพดี วิถีชีวิตมีสุข พร้อมก้าวสู่สากล”
พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น
1. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรม
2. ส่งเสริมการพัฒนาทางสังคม ครอบครัว ให้อบอุ่น เอื้ออาทรและช่วยเหลือกัน
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้า ประปา ถนน/หอกระจายข่าว/เสียงไร้สาย ในหมู่บ้าน/ตำบล
4. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และทำการเกษตรอย่างเพียงพอ
5. ส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพเสริมของประชาชน
6. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
7. ส่งเสริมด้านการสาธารณสุข การสร้างสุขภาพ การกีฬาและการป้องกันโรคติดต่อ
8. ส่งเสริมและสนับสนุนศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น
9. ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจพอเพียง
10. ส่งเสริมกลุ่มพลังแผ่นดินสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
11. สนับสนุนการตั้งกลุ่มผู้ผลิตข้าวปลอดสารพิษ ผลิตปุ๋ยชีวภาพ ผลิตปุ๋ยหมักอัดเม็ด
12. ดำเนินการพัฒนากลุ่มกองทุนในชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการพึ่งตนเองได้
13. พัฒนาระบบตลาดกลางการเกษตร การแปรรูป การจำหน่ายผลผลิต ที่เป็นระบบและเป็นธรรม เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
14. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ การตรวจสอบงบประมาณที่โปร่งใส คุ้มค่า เกิดประโยชน์และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
15. พัฒนาองค์กรประชาชนตำบลวัดขวาง
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
1. มีการคมนาคมที่สะดวก ไฟฟ้า ประปา หอกระจายข่าว/เสียงไร้สาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในตำบล
2. มีแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตร อุปโภค–บริโภค และพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ
3. ประชาชนมีอาชีพเสริม และมีรายได้เพิ่มขึ้น
4. ส่งเสริมการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
5. พัฒนาด้านกีฬา ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
6. พัฒนาด้านสาธารณสุข การสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค
7. พัฒนาศักยภาพของสังคมและครอบครัวให้เกิดความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
8. มีกลุ่มพลังแผ่นดินสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
9. ประชาชนผลิตข้าวปลอดสารพิษ ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ
10. มีกองทุนต่างๆ กลุ่มออมทรัพย์เข้มแข็ง บริหารจัดการเองได้และมีประสิทธิภาพ
11. มีตลาดกลาง รองรับการผลิตข้าวปลอดสารพิษ ลานตากข้าว / กิโลกลาง / ธนาคาร
12. พัฒนาการบริหารจัดการกิจการบ้านเมืองที่ดี โปร่งใส และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 บริหารจัดการทรัพยากรน้ำและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
1. การอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชนมีส่วนร่วม
ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม
4. สนับสนุนการวางและการจัดทำผังเมือง/ตำบลเพื่อเป็นตัวชี้นำในการพัฒนาพื้นที่ตำบล
หน้า 1 2
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภาคการเกษตรและสินค้าข้าว
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมการปรับปรุงดิน และส่งเสริมการใช้สารชีวภาพในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. จัดหาแหล่งน้ำปรับปรุงบำรุงรักษาและพัฒนาประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภค
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง
4. ส่งเสริม/พัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
5. ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรปลอดภัยและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
6. พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและเกษตรกรเพื่อเสริมสร้างกระบวนการจัดการความรู้ ทางการเกษตร
7. สนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วน
8. พัฒนาความรู้ด้านกระบวนการผลิตและการบรรจุภัณฑ์ให้กับประชาชนทั่วไป
9. เพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวข้าว
10. ก่อสร้างปรับปรุงบำรุงรักษาเส้นทางการคมนาคม แหล่งน้ำ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 แก้ปัญหาและมุ่งพัฒนาสังคมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน/หมู่บ้านตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน
4. ส่งเสริม/สนับสนุนการฝึกอบรมการประกอบอาชีพ
5. ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน มุ่งเน้นสร้างความรู้รักสามัคคี
6. การส่งเสริมและผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
7. พัฒนาส่งเสริมการจัดระบบการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
8. การสงเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิภาพและคุ้มครองสิทธิเด็กเยาวชน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้ยากจน ผู้สูงอายุ และสตรี
9. การสงเคราะห์ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ
10. การพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย
11. การจัดตั้งเครือข่ายชุมชนเพื่อพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
12. ส่งเสริมสนับสนุน/ทำนุบำรุงศาสนาศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น โดยสร้างจิตสำนึกและสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
13. ส่งเสริมด้านสาธารณสุข เพื่อการมีสุขภาพอนามัยคุณภาพที่ดีขึ้น
14. ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
15. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
16. การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม
17. การพัฒนาชุมชน/หมู่บ้านปลอดภัย ตำบลปลอดภัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์การและบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางการพัฒนา
1. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2. การบริหาราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
5. การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6. การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
7. การประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
8. การพัฒนาองค์กรและบุคลากร
9. การมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาชนในพื้นที่
หน้า 1 2
|